สถิติ
เปิดเมื่อ2/12/2015
อัพเดท17/02/2016
ผู้เข้าชม35569
แสดงหน้า46517
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทความ

6.3 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี
พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี

          การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากมีการสลายและสร้างพันธะระหว่างอะตอมของสารในระบบ อาจะเขียนแสดงด้วยกราฟ ดังรูป 6.7 และ 6.8
 
 

 
รูป 6.7 การเปลี่ยนแปลงพลังงานของปฏิกิริยา \displaystyle CO(g)+NO_2 (g)\to+CO_2 (g)+NO(g)

          จากกราฟรูป 6.7 อธิบายได้ว่าสารตั้งต้นมีพลังงาน \displaystyle E_1 เมื่อโมเลกุลของสารตั้งต้นชนกันมีพลังงานสูงขึ้นเป็น \displaystyle E_2 หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีพลังงานเป็น \displaystyle E_3 ผลต่างระหว่างพลังงาน \displaystyle E_2 กับ \displaystyle E_1 คือพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา (\displaystyle E_a) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีพลังงานเท่ากับ \displaystyle E_3 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า\displaystyle E_1 ระบบจึงคายพลังงานออกมามีค่าเท่ากับ \displaystyle E_3 - E_1 =- \Delta E ปฏิกิริยานี้จึงเป็น ปฏิกิริยาคายพลังงาน

 
      รูป 6.8 การเปลึ่ยนแปลงพลังงานของปฎิกิริยา \displaystyle 2HI(g) \to H_2 (g) + I_2 (g)
 
          กราฟในรูป 6.8 อธิบายได้ว่าสารตั้งต้นมีพลังงาน \displaystyle E_1 พลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาเท่ากับ \displaystyle E_a และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีพลังงาน \displaystyle E_3 เนื่องจากในปฏิกิริยานี้ \displaystyle E_3 มีค่าสูงกว่า \displaystyle E_1 ระบบจึงดูดพลังงานเข้าไปมีค่าเท่ากับ \displaystyle E_3 - E_1 =+ \Delta E                ปฏิกิริยาดูดพลังงาน 

          จากคำอธิบายที่กล่าวมาแล้วช่วยให้สรุปได้ว่าปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ผลิตภัณฑ์จะมีพลังงานต่ำกว่าสารตั้งต้น ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน ผลิตภัณฑ์จะมีพลังงานสูงกว่าสารตั้งต้น